กรรมการอิสลามเชียงใหม่รุกการศึกษาภาคพื้นฐาน(ฟัรฎูอีน)ให้เกิดภาพรวมสู่ความเป็นเอกภาพ

ชุมพล  ศรีสมบัติ

 

การเรียนการสอนศาสนาอิสลาม ภาคบังคับ หรือ การเรียนฟัรฎูอีน บางแห่งเรียกตาดีกา   ถือเป็นหัวใจสำคัญ ในการวางพื้นฐานให้เด็กเยาวชนมุสลิม ได้ เรียนรู้ในการปฏิบัติศาสนกิจ และการอ่านคัมภร์กุรอ่านให้ถูกต้อง สำคัญเป็นการปลูกฝั่งให้เด็กเยาวชนมีคุณธรรม จริยธรรม นำสู่การใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ เชิญ ผู้เกี่ยวข้อง กรรมการมัสยิดฝายการศึกษา สถาบันเรียนรู้อิสลามฯ  องค์กร สมาคม ในพื้นที่ กว่าแปดสิบคนร่วมเวทีพูดคุย หาแนวทาง การพัฒนา ความคาดหวัง โดย นายกวินธร วงค์ลือเกียรติ์ ประธานกรรมการอิสลามจังหวัดเชียงใหม่กล่าวเปิดงาน และถือการศึกษาภาคฟัรฎูอีนเป็นนโยบายสำคัญขององค์กร

” การเรียนการสอนภาคฟัรฏูอีนหรือศาสนาภาคบังคับ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดูดแลรักษาสังคม โดยเฉพาะเด็กเยาวชน เราให้ความสำคัญในเรื่องการ เป็นอันดับต้น ๆ  ลูกหลานของเรา จะได้มีความเข้าใจ มีความศรัทธา มีความเชื่อ และสามารถเป็นเกาุะคุ้มกัน เพื่อให้พวกเขา สามารถยืนบนสังคมได้อย่างมั่นคงและดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัย” นายกวินธร กล่าว

ผศ.ดร สุชาติ เศรษฐมาลินิ รองประธานกรรมการอิสลามเชียงใหม่  ได้กล่าวถึง วัตถุประสงค์การจัดโครงการในคร้งนี้

” เป็นการเสวนาผู้นำองค์กรมุสลิมที่ทำงานในจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน  ที่เราให้ความสำคัญคือ การพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับมุสลิมเรา ไม่เฉพาะแต่เด็ก ที่เราเรียกกันว่า การศึกษาแบบฟัรฎูอีน ที่อยู่ในมัสยิดต่าง ๆ เป็นผู้บริหาร  และเราก็หวังว่า ในฐานะเราเป็นมุสลิมแล้วเราต้องศึกษาตั้งแต่ในเปลจนถึงหลุมฝั่งศพ  ตั้งแต่เกิดจนตายทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่เราจะหาแนวทางพัฒนาการศึกษาได้อย่างไร

แม้นแต่ในส่วนของฟัรฏูอีนเองที่ผ่านมา  ทางฝ่ายของผู้ปกครองส่วนของครูเอง ก็ตระหนักว่าเราก็ประสบปัญหา ข้อท้าทายต่าง ๆ เยอะแยะมากมาย ทั้งคุณภาพของหลักสูตร การเรียนการสอน นักเรียนที่หดหายไป  เราจะหาแนวทางอย่างไรที่จะดึงเด็ก ๆ เหล่านั้นให้ได้มามีความรู้พื้นฐาน ทางด้านศาสนาเพื่อที่จะได้ออกไปเป็นอุมมุะฮฺที่ดี เป็นมุสลิมทีมีคุณภาพ ที่จะรับใช้สังคม และปฏิบัติตนเป็นมุสลิมที่ดีที่่จะอยู่ร่วมกับคนทุกศาสนิก”  ผศ.ดร.สุชาติ กล่าว

 

อ.วินัย (ซอและห์) แสวงศิริผล  ที่ปรึกษาคณะกรรมการอิสลามเชียงใหม่ วิทยากรและเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมเสวนาได้กล่าวถึงความคาดหวังและสิ่งที่อยากเห็นต่อผู้เข้าร่วมในโครงการนี้

“ ที่คาดหวังและอยากจะเห็นอันดับแรกคือความร่วมมือ เนื่องจากว่าในองค์กรหลักคือมัสยิดหรือว่าจะเป็นสมาคมเป็นชมรมฯ แต่ละองค์กรก็ทำงานกัน ส่วนหนึ่งก็เน้นในเรื่องของศาสนา โดยเฉพาะการเรียนการสอนฟัรฏูอีน ซึ่งคำว่า ฟัรฎูอีนหมายถึงทุกระดับชั้น อาจจะเป็นเด็กเล็กหรือเยาวชน วัยรุ่น แม้นกระทั้งคนเฒ่าคนแก่  อยากเห็นความร่วมือก็คือ  ถ้าเป็นไปได้เรามีตำรา ที่ร่วมกันทำ อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างแต่ก็ไม่อยากเห็นความแตกแยก

ครูต้องมีการอบรม แล้วก็มาแบ่งปันกัน แล้วก็พัฒนา ไปร่วมกัน มัสยิดไหนที่มีกำลังมากกว่า มีความสามารถมากกว่า ก็ช่วยมัสยิดที่อ่อนแออยู่ จะได้ช่วยประคองทั้งหมดไปด้วยกัน อย่างนี้ ถึงได้รับความสำเร็จ มุสลิมเราไปคนเดียวไม่ได้ครับ ต้องไปเป็นทีมต้องไปเป็นกลุ่มและที่สำคัญต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อินชาอัลลอฮฺ นี้คือความหวัง มาก ๆ เลยครับ”  อ.วินัย กล่าว

 

การศึกษาหาวิชาความรู้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์  เพราะการอยู่รอดของมนุษย์ไม่ว่ายุคใดก็ตามต้องอาศัยการเรียนรู้ต่อสิ่งที่อยู่รอบข้าง  การพัฒนาในเรื่องของความรู้จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ  สำคัญคือการร่วมมือกันขับเคลือน ของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง เด็ก เยาวชน ครูสอนศาสนา คณะกรรมการมัสยิดที่รับผิดชอบการศึกษา ต้องกลับมาทบทวน พูดคุยห่วงใย ในเรื่องการศึกษาของเด็กเยาวชนมายิ่งขึ้น ซึ่งเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า ก่อนที่เราจะไปเรียนด้านใดเราต้องเรียนเรื่องที่ทำให้เรารู้จักพระเจ้า และหลักการศรัทธาของศาสนาเสียก่อน แน่นอนหากเราทำได้เช่นนั้นเราจะไม่หลงผิด และจะทำให้เรามีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า อินชาอัลลอฮฺ